วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

4.4 การเลือกซื้อแรม

การเลือกซื้อแรม (RAM) หรือหน่วยความจำหลัก
 
การเลือกซื้อแรมปัจจุบัน นอกจากจะต้องดูกันที่ความจุความเร็วแล้ว หลายคนยังมองไปที่สัปดาห์ที่ผลิต รวมถึงเม็ดแรมที่นำมาใช้อีกด้วย โดยเฉพาะกับบรรดาเซียนคอมพ์ทั้งหลาย ที่แทบจะเอากล้องส่งอพระมาส่องกันเลยทีเดียว แต่สิ่งเหล่านี้ คงต้องยกให้กับเหล่ามืออาชีพกันไป ส่วนผู้ที่กำลังมองหาไว้ใช้งานโดยทั่วไปแล้ว สำหรับการเลือกแรมมีหลักง่ายๆ เพียงไม่กี่ข้อ ไม่ยุ่งยาก เพียงแต่อาจใส่ใจอยู่บ้าง เริ่มตั้งแต่
ดูจากเมนบอร์ดที่ใช้อยู่
ปัจจุบันชัดเจนว่าแรมที่มีอยู่ในตลาดและใช้กันอยู่โดยทั่วไป มีอยู่ 3 รูปแบบคือ DDR, DDR2 และ DDR3 โดยที่แต่ละแบบก็ใช้งานกับแพลตฟอร์มต่างกันออกไป กล่าวคือ DDR (184-pins) จะทำงานร่วมกับชิปเซตรุ่นเก่าของทั้ง Intel ตระกูล 845, 865 และใน VIA P4M บางรุ่น สำหรับ AMD ก็มีตั้งแต่ nForce2, nForce3, GeForce 6100/6150 แต่เวลานี้ก็แทบจะลาจากตลาดไปอย่างถาวร ส่วนใหญ่จะถูกเปลี่ยนสำหรับการอัพเกรด ประกอบด้วย DDR400/333/266 (PC3200/2700/2100)
ส่วน DDR2 (240-pins) นับว่ายังคงเป็นแรมยอดนิยม ที่ยืนหยัดอยู่ในตลาดได้อีกนานพอสมควร ใช้กับชิปเซตทั้งหลายที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันได้ ไม่ว่าจะเป็นค่ายอินเทล 915, 925, 945, 955, 965, 975, G31, G33, P35, X38 และ X48 รวมไปถึง 680i/ 780i ส่วนทาง AMD ก็ใช้ได้กับ nForce4, nForce 5xx Series, 690G, nForce 750/770/790FX Series ซึ่งก็มีให้เลือกตั้งแต่ DDR2 800/667/533 (PC6400/5300/4200) นับเป็นแรมที่มีราคาค่อนข้างถูก มีให้เลือกตั้งแต่แถวละ 512MB, 1GB และ 2GB
ล่าสุดกับ DDR3 (240-pins) ที่ยังถือว่าเป็นแรมที่มีประสิทธิภาพสูงพอสมควร รวมถึงราคาจำหน่ายด้วยเช่นกัน เนื่องจากยังไม่มีการสนับสนุนอย่างเต็มที่เท่าใดนัก ส่วนชิปเซตจากอินเทลจะมีเพียง X48 ที่รองรับการทำงานอย่างเต็มตัว แต่ผู้ผลิตก็ยังมีในแบบ DDR2 มาให้ใช้ด้วย ส่วนทาง AMDจะมีในรุ่น AMD 790i ที่เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดเท่านั้น ที่ออกมารองรับการทำงานกับ DDR3 โดยจะมีความเร็วที่ DDR3 1333 และ DDR3 1066 (PC10600/8500)
เลือกที่ความจุและขนาดที่ต้องการ
ให้ดูจากปริมาณการทำงานและแอพพลิเคชันที่ใช้เป็นหลัก หากการใช้งานทั่วไปร่วมกับวินโดวส์เอ็กซ์พีแล้ว ความจุที่512MB ก็น่าจะเพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้ามีความต้องการในเรื่องของเกมสามมิติและโปรแกรมตกแต่งภาพแล้ว ความจุที่มากกว่า 1GB จะช่วยให้มีความลื่นไหลมากขึ้น ส่วนถ้าหากจำนำไปใช้กับงานระดับ Workstation ความจุที่ 2-4GB ก็ดูจะเป็นขนาดที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงที่แรม DDR2 ราคาถูกเช่นนี้ การอัพเกรดความจุให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะหาซื้อได้ ก็เป็นเรื่องที่ดีไม่น้อ
ram
เลือกแบบ Single ความจุสูงแถวเดียวหรือ Dual ความจุเท่ากัน 2 แถวดี
ในความเป็นจริงทั้ง 2 แบบก็ถือว่าถูกเหมือนกัน แต่อาจต้องมาคิดคำนวณ ระหว่างราคากับประสิทธิภาพ ในปัจจุบันนี้ ต้องไม่ลืมว่าการทำงานในโหมด Dual Channel ที่เป็นแบบแรมสองแถวคู่ มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมไม่น้อยกว่า 20% แต่นั่นหมายถึงมีอัตราค่าใช้จ่ายสูงกว่าการซื้อแรมแบบแถวเดียว ในความจุเท่ากัน อย่างเช่นกรณี Corsair VS 512MB x 2 (Kit) ราคา 460 บาท แต่ถ้า 1 GB แถวละ 730 บาท (เดือนมกราคม) แต่แบนด์วิดธ์ที่ได้จะต่างกัน การใช้แถวคู่ก็แน่นอนว่าจะต้องเสียสล็อตเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่อง การอัพเกรดก็น้อยลง ดังนั้นแล้วก็ควรจะพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ
องค์ประกอบอื่นๆ
ในส่วนขององค์ประกอบพิเศษก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการระบายความร้อน ซึ่งหลายค่ายนิยมติด Heat Spreader ที่ช่วยในการระบายความร้อนมาให้ ซึ่งดูเหมือนว่าจะเพิ่มมูลค่าได้ไม่น้อยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามการติดฮีตชิงก์ให้กับแรมนี้ควรจะต้องมั่นใจว่ามีการระบาย ความร้อนที่ดีด้วยเช่นกัน เช่นการปรับทิศทางลมให้เหมาะสม ไม่เช่นนั้นอาจเกิดภาวะสะสมความร้อน จนเกิดอันตรายต่อแรมได้เช่นกัน แต่ปัจจุบันก็มีพัดลมสำหรับสล็อตแรมมาจำหน่ายเช่นกัน
การรับประกัน
ดูเหมือนว่าจะเป็นแรมอุปกรณ์ไม่กี่ชนิด ที่ใช้การรับประกันแบบ Life Time Warranty มาเป็นจุดขาย แต่ก็คงต้องทำความเข้าใจกับรูปแบบการรับประกันดังกล่าวนี้ด้วย การรับประกันตลอดชีพ จะหมายถึงการรับประกันไปจนถึงช่วงที่สิ้นสุดการผลิตของแรมรุ่นดังกล่าวเท่า นั้น แต่ถ้าเกิดมีปัญหาหลังจากนั้น ทางผู้จัดจำหน่าย อาจให้เลือกเปลี่ยนเป็นรุ่นอื่น อาจเป็นรุ่นที่ดีกว่าหรือถูกกว่า รวมถึงในบางครั้งอาจต้องจ่ายส่วนต่างด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจและการตกลงกันของผู้ซื้อและผู้จำหน่าย
ส่วนเงื่อนไขการรับประกันให้ตกลงกับผู้จำหน่ายให้เป็นที่เข้าใจ แต่ส่วนใหญ่การรับประกันจะไม่รวมไปถึง การแตกหักเสียหาย เม็ดแรมหลุดหรือบิ่น จะมีเพียงบางค่ายที่ยอมรับได้ในเรื่องการไหม้ รวมถึงการเก็บใบเสร็จหรือใบรับประกันไว้ให้เรียบร้อย สำหรับการยืนยันกับร้านค้า หากเกิดปัญหาในขั้นตอนการเคลม

4.3 ติดตั้งแรม

    1. เตรียมแรมที่จะติดตั้งลงในสล็อตและมองหาตำแหน่งสล็อต
บนเมนบอร์ด








2. วางแรมให้ถูกด้านโดยให้รอยบากตรงกับคันล็อก
ในช่องเสียบ(สล็อต)





3. ดันแรมลงไปตรง ๆ จนสุด ซึ่งจะสังเกตเห็นว่า แขนล็อค
กระดกกลับมาล็อคปลายแรมทั้งสองข้างพอดี

4.2 หน่วยความจำแรม

        RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผลจะต้องมีไฟเข้า Module ของ RAM ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็น chip ที่เป็น IC ตัวเล็กๆ ถูก pack อยู่บนแผงวงจร หรือ Circuit Board เป็น module
เทคโนโลยีของหน่วยความจำมีหลักการที่แตกแยกกันอย่างชัดเจน 2 เทคโนโลยี คือหน่วยความจำแบบ DDR หรือ Double Data Rate (DDR-SDRAM, DDR-SGRAM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากเทคโนโลยีของหน่วยความจำแบบ SDRAM และ SGRAM และอีกหนึ่งคือหน่วยความจำแบบ Rambus ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีแนวคิดบางส่วนต่างออกไปจากแบบอื่น


SDRAM

รูปแสดง SDRAM 

อาจจะกล่าวได้ว่า SDRAM (Synchronous Dynamic Random Access Memory) นั้นเป็น Memory ที่เป็นเทคโนโลยีเก่าไปเสียแล้วสำหรับยุคปัจจุบัน เพราะเป็นการทำงานในช่วง Clock ขาขึ้นเท่านั้น นั้นก็คือ ใน1 รอบสัญญาณนาฬิกา จะทำงาน 1 ครั้ง ใช้ Module แบบ SIMM หรือ Single In-line Memory Module โดยที่ Module ชนิดนี้ จะรองรับ datapath 32 bit โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณเดียวกัน

DDR - RAM



รูปแสดง DDR - SDRAM

หน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM นี้พัฒนามาจากหน่วยความจำแบบ SDRAM เอเอ็มดีได้ทำการพัฒนาชิปเซตเองและให้บริษัทผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่อย่าง VIA, SiS และ ALi เป็นผู้พัฒนาชิปเซตให้ ปัจจุบันซีพียูของเอเอ็มดีนั้นมีประสิทธิภาพโดยรวมสูงแต่ยังคงมีปัญหาเรื่อง ความเสถียรอยู่บ้าง แต่ต่อมาเอเอ็มดีหันมาสนใจกับชิปเซตสำหรับซีพียูมากขึ้น ขณะที่ทางเอเอ็มดีพัฒนาชิปเซตเลือกให้ชิปเซต AMD 760 สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำแบบ DDR เพราะหน่วยความจำแบบ DDR นี้ จัดเป็นเทคโนโลยีเปิดที่เกิดจากการร่วมมือกันพัฒนาของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง เอเอ็มดี, ไมครอน, ซัมซุง, VIA, Infineon, ATi, NVIDIA รวมถึงบริษัทผู้ผลิตรายย่อยๆ อีกหลายDDR-SDRAM เป็นหน่วยความจำที่มีบทบาทสำคัญบนการ์ดแสดงผล 3 มิติ
ทางบริษัท nVidia ได้ผลิต GeForce ใช้คู่กับหน่วยความจำแบบ SDRAM แต่เกิดปัญหาคอขวดของหน่วยความจำในการส่งถ่ายข้อมูลทำให้ทาง nVidia หาเทคโนโลยีของหน่วยความจำใหม่มาทดแทนหน่วยความจำแบบ SDRAM โดยเปลี่ยนเป็นหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM การเปิดตัวของ GeForce ทำให้ได้พบกับ GPU ตัวแรกแล้ว และทำให้ได้รู้จักกับหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM เป็นครั้งแรกด้วย การที่ DDR-SDRAM สามารถเข้ามาแก้ปัญหาคอคอดของหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผลได้ ส่งผลให้ DDR-SDRAM กลายมาเป็นมาตรฐานของหน่วยความจำที่ใช้กันบนการ์ด 3 มิติ ใช้ Module DIMM หรือ Dual In-line Memory Module โดย Module นี้เพิ่งจะกำเนิดมาไม่นานนัก มี datapath ถึง 64 bit โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณที่ต่างกัน

Rambus

รูปแสดง Rambus

Rambus นั้นทางอินเทลเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุนหลักมาตั้งแต่แรกแล้ว Rambus ยังมีพันธมิตรอีกเช่น คอมแพค, เอชพี, เนชันแนล เซมิคอนดักเตอร์, เอเซอร์ แลบอเรทอรีส์ ปัจจุบัน Rambus ถูกเรียกว่า RDRAM หรือ Rambus DRAM ซึ่งออกมาทั้งหมด 3 รุ่นคือ Base RDRAM, Concurrent RDRAM และ Direct RDRAM RDRAM แตกต่างไปจาก SDRAM เรื่องการออกแบบอินเทอร์-เฟซของหน่วยความจำ Rambus ใช้วิธีการจัด address การจัดเก็บและรับข้อมูลในแบบเดิม ในส่วนการปรับปรุงโอนย้ายถ่ายข้อมูล ระหว่าง RDRAM ไปยังชิปเซตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 4 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 4 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล เช่น RAM มีความเร็ว BUS = 100 MHz คูณกับ 4 pipline จะเท่ากับ 400 MHz
วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนถ่ายข้อมูลของ RDRAM นั้นก็คือ จะใช้อินเทอร์เฟซเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Rambus Interface ซึ่งจะมีอยู่ที่ปลายทางทั้ง 2 ด้าน คือทั้งในตัวชิป RDRAM เอง และในตัวควบคุมหน่วยความจำ (Memory controller อยู่ในชิปเซต) เป็นตัวช่วยเพิ่มแบนด์วิดธ์ให้ โดย Rambus Interface นี้จะทำให้ RDRAM สามารถขนถ่ายข้อมูลได้สูงถึง 400 MHz DDR หรือ 800 เมกะเฮิรตซ์ เลยทีเดียว

แต่การที่มีความสามารถในการขนถ่ายข้อมูลสูง ก็เป็นผลร้ายเหมือนกัน เพราะทำให้มีความจำเป็นต้องมี Data path หรือทางผ่านข้อมูลมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อรองรับปริมาณการขนถ่ายข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้ขนาดของ die บนตัวหน่วยความจำต้องกว้างขึ้น และก็ทำให้ต้นทุนของหน่วยความจำแบบ Rambus นี้ สูงขึ้นและแม้ว่า RDRAM จะมีการทำงานที่ 800 เมกะเฮิรตซ์ แต่เนื่องจากโครงสร้างของมันจะเป็นแบบ 16 บิต (2 ไบต์) ทำให้แบนด์วิดธ์ของหน่วยความจำชนิดนี้ มีค่าสูงสุดอยู่ที่ 1.6 กิกะไบต์ต่อวินาทีเท่านั้น (2 x 800 = 1600) ซึ่งก็เทียบเท่ากับ PC1600 ของหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM

สัญญาณนาฬิกา

DDR-SDRAM จะมีพื้นฐานเหมือนกับ SDRAM ทั่วไปมีความถี่ของสัญญาณนาฬิกาเท่าเดิม (100 และ 133 เมกะเฮิรตซ์) เพียงแต่ว่า หน่วยความจำแบบ DDR นั้น จะสามารถขนถ่ายข้อมูลได้มากกว่าเดิมเป็น 2 เท่า เนื่องจากมันสามารถขนถ่ายข้อมูลได้ทั้งในขาขึ้นและขาลงของหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ในขณะที่หน่วยความจำแบบ SDRAM สามารถขนถ่ายข้อมูลได้เพียงขาขึ้นของรอบสัญญาณนาฬิกาเท่านั้น
ด้วยแนวคิดง่าย ๆ แต่สามารถเพิ่มแบนด์วิดธ์ได้เป็นสองเท่า และอาจจะได้พบกับหน่วยความจำแบบ DDR II ซึ่งก็จะเพิ่มแบนด์วิดธ์ขึ้นไปอีก 2 เท่า จากหน่วยความจำแบบ DDR (หรือเพิ่มแบนด์วิดธ์ไปอีก 4 เท่า เมื่อเทียบกับหน่วยความจำแบบ SDRAM) ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูง เพราะจะว่าไปแล้วก็คล้ายกับกรณีของ AGP ซึ่งพัฒนามาเป็น AGP 2X 4X และ AGP 8X
หน่วยความจำแบบ DDR จะใช้ไฟเพียง 2.5 โวลต์ แทนที่จะเป็น 3.3 โวลต์เหมือนกับ SDRAM ทำให้เหมาะที่จะใช้กับโน้ตบุ๊ก และด้วยการที่พัฒนามาจากพื้นฐานเดียว DDR-SDRAM จะมีความแตกต่างจาก SDRAM อย่างเห็นได้ชัดอยู่หลายจุด เริ่มตั้งแต่มีขาทั้งหมด 184 pin ในขณะที่ SDRAM จะมี 168 pin อีกทั้ง DDR-SDRAM ยังมีรูระหว่าง pin เพียงรูเดียว ในขณะที่ SDRAM จะมี 2 รู ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่า DDR-SDRAM นั้น ไม่สามารถใส่ใน DIMM ของ SDRAM ได้ หรือต้องมี DIMM เฉพาะใช้ร่วมกันไม่ได้

การเรียกชื่อ RAM

Rambus ซึ่งใช้เรียกชื่อรุ่นหน่วยความจำของตัวเองว่า PC600, PC700 และ ทำให้ DDR-SDRAM เปลี่ยนวิธีการเรียกชื่อหน่วยความจำไปเช่นกัน คือแทนที่จะเรียกตามความถี่ของหน่วยความจำว่าเป็น PC200 (PC100 DDR) หรือ PC266 (PC133 DDR) กลับเปลี่ยนเป็น PC1600 และ PC2100 ซึ่งชื่อนี้ก็มีที่มาจากอัตราการขนถ่ายข้อมูลสูงสุดที่หน่วยความจำรุ่นนั้น สามารถทำได้ ถ้าจะเปรียบเทียบกับหน่วยความจำแบบ SDRAM แล้ว PC1600 ก็คือ PC100 MHz DDR และ PC2100 ก็คือ PC133 MHz DDR เพราะหน่วยความจำที่มีบัส 64 บิต หรือ 8 ไบต์ และมีอัตราการขนถ่ายข้อมูล 1600 เมกะไบต์ต่อวินาที ก็จะต้องมีความถี่อยู่ที่ 200 เมกะเฮิรตซ์ (8 x 200 = 1600) หรือถ้ามีแบนด์วิดธ์ที่ 2100 เมกะไบต์ต่อวินาที ก็ต้องมีความถี่อยู่ที่ 266 เมกะเฮิรตซ์ (8 x 266 = 2100)

อนาคตของ RAM

บริษัทผู้ผลิตชิปเซตส่วนใหญ่เริ่มหันมาให้ความสนใจกับหน่วยความจำแบบ DDR กันมากขึ้น อย่างเช่น VIA ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่ของโลกจากไต้หวัน ก็เริ่มผลิตชิปเซตอย่าง VIA Apollo KT266 และ VIA Apollo KT133a ซึ่งเป็นชิปเซตสำหรับซีพียูในตระกูลแอธลอน และดูรอน (Socket A) รวมถึงกำหนดให้ VIA Apolle Pro 266 ซึ่งเป็นชิปเซตสำหรับเซลเลอรอน และเพนเทียม (Slot1, Socket 370) หันมาสนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM แทนที่จะเป็น RDRAM

แนวโน้มที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดของทั้ง DDR II กับ RDRAM เวอร์ชันต่อไป เทคโนโลยี quard pump คือการอัดรอบเพิ่มเข้าไปเป็น 4 เท่า เหมือนกับในกรณีของ AGP ซึ่งนั่นจะทำให้ DDR II และ RDRAM เวอร์ชันต่อไป มีแบนด์-วิดธ์ที่สูงขึ้นกว่างปัจจุบันอีก 2 เท่า ในส่วนของ RDRAM นั้น การเพิ่มจำนวนสล็อตในหนึ่ง channel ก็น่าจะเป็นหนทางการพัฒนาที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งนั่นก็จะเป็นการเพิ่มแบนด์วิดธ์ของหน่วยความจำขึ้นอีกเป็นเท่าตัวเช่น กัน และทั้งหมดที่ว่ามานั้น คงจะพอรับประกันได้ว่า การต่อสู้ระหว่าง DDR และ Rambus คงยังไม่จบลงง่าย ๆ และหน่วยความจำแบบ DDR ยังไม่ได้เป็นผู้ชนะอย่างเด็ดขาด

4.1 ส่วนประกอบของเมนบอร์ด

     Mainboard หรือ บางทีก็เรียก Motherboard นั้นจัดได้ว่า เป็นชิ้นส่วนสำคัญรองจาก CPU เป็นจุดรวมการควบคุมอุปกรณ์ทุกอย่างที่จะประกอบมาเป็นคอมพิวเตอร์ มีอุปกรณ์ต่างๆ เช่น CPU, RAM, Cache, Hard disk, Busและ Card ต่างๆ นั้นต่ออยู่กับ Mainboard ทั้งสิ้น และ ชนิดของ Mainboard ก็จะต้องเข้ากับชนิดของ CPU ที่จะใช้งานด้วย โดย Mainboard นั้น จะเป็นตัวบอกชนิดของ CPU ที่จะใช้ร่วมกันผ่านทาง Interface และ chipset ที่ฝังอยู่บน Mainboard และนอกจากนั้นก็ยังเป็นตัวกำหนด ขนาด และ ชนิดของหน่วยความจำหลักที่ใช้กับมัน ขนาดและ ชนิดของ Harddisk, CDROM Drive และรวมไปถึง Floppy Disk Drive ที่ต่อผ่านทางสายแพ
ส่วนประกอบของเมนบอร์ด


1. Socket

2. Chipset - North Bridge

3. DIMM Slot

4. Power connector

5. FDD

6. IDE

7. Battery

8. Chipset - South Bridge
9. Serial ATA Interface

10. Front Panel connector

11. ROM BIOS

12. AGP Slot

13. USB

14. PCI Slot

15. Port (Back Panel)

16. Power connector (For Pentium4)
1. Socket   - Socket คือ ตำแหน่งที่มีไว้สำหรับติดตั้ง CPU ซึ่ง socket แต่ละแบบก็จะผลิตออกมาเพื่อรองรับ CPU ในบางรุ่นเท่านั้น เช่น
     - Socket370 ใช้กับ : Intel PentiumIII Coppermine
     - Socket478 ใช้กับ : Intel Pentium4
     - Socket462 ใช้กับ : AMD Duron/Athlon/AthlonXP

2. Chipset North Bridge (อยู่ใต้ฮีทซิ้งค์)   - North Bridge จะทำการควบคุมอุปกรณ์ RAM และ AGP ทำการเชื่อมต่อโดยตรงกับ CPU

3. DIMM Slot    - DIMM Slot คือ ช่องสำหรับติดตั้งหน่วยความจำ หรือ RAM

4. Power connector   - เป็นช่องเสียบสายไฟเลี้ยงสำหรับเมนบอร์ด ปัจจุบันจะเป็นแบบ ATX



5. FDD   - เป็นช่องที่ใช้สำหรับเสียบสายแพที่ติดต่อกับ Floppy Drive

6. IDE   - IDE1 และ IDE2 เป็นช่องที่ใช้สำหรับเสียบสายแพที่ติดต่อกับ Harddisk และ Optical Drive

7. Battery    - ชิพรอมไบออสเป็นการรวมกันของชิพไบออส และชิพซีมอสจึงทำให้ข้อมูลบางส่วนที่อยู่ภายใน ชิพรอมไบออส ต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลไว้ แบตเตอรี่แบ็คอัพจึงยังคงเป็นสิ่งจำเป็นอยู่ ถ้าแบตเตอรี่เสื่อม หรือหมดอายุแล้วจะทำให้ข้อมูลที่คุณเซ็ตไว้ เช่น วันที่ จะหายไปกลายเป็นค่าพื้นฐานจากโรงงาน และก็ต้องทำการเซ็ตใหม่ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง

8. Chipset South Bridge   - ส่วนของ South Bridge จะควบคุม Slot IDE, USB, LAN, Audio และFlash BIOS


9. Serial ATA Interface    - เป็นช่องทางติดต่อกับ Harddisk ที่มี Interface แบบ Serial ATA ซึ่งสายแพที่ใช้จะมีขนาดเล็ก มีความเร็วมากขึ้น และการติดตั้งก็ง่ายขึ้นด้วย

10. Front Panel connector   - ใช้ต่อกับสายสัญญาณออกไปยังด้านหน้าของเคสที่ต่อกับ ปุ่ม power , reset และไฟแสดงสถานะต่างๆ

11. ROM BIOS   - ไบออส BIOS (Basic Input Output System) หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนของชิพรอมไบออสจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชิพไบออส และชิพซีมอส ซึ่งจะทำหน้าที่ เก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์

12. AGP Slot   - เป็นส่วนที่ Graphic Card ใช้ต่อเพื่อทำการรับ-ส่งข้อมูลกับระบบ Bus ของ Computer เพื่อให้สามารถติดต่อกับ CPU และ/หรือหน่วยความจำของระบบ

13. USB connect    - ใช้เชื่อมต่อกับสายสัญญาณออกไปยัง USB Port ที่ด้านหน้าหรือด้านหลังของเคส เพื่อเพิ่มจำนวน USB Port
       ที่ connector จะมีขาอยู่ 4-5 ขา แต่ปกติจะใช้ 4 ขา โดยเริ่มตั้งแต่ขาที่ 1 ดังรูป



14. PCI Slot   - เป็นช่องทางการติดต่อระหว่าง mainboard กับ การ์ดต่างๆ เช่น SoundCard ,Modem เป็นต้น

15. Port (Back Panel)    - เป็นส่วนที่ใช้ติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอก



16. CPU Power connector   - เป็นช่องที่ใช้เสียบสายไฟเลี้ยงให้กับ CPU Pentium4